Homeประมวลคำสอน ภาคที่ 4บทที่ 1 “บทข้าแต่พระบิดา”

บทที่ 1 “บทข้าแต่พระบิดา”

ตอนที่ 2  บทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้า
(จากหนังสือประมวลคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก  ข้อที่ 578-598) 

 

 บทที่ 1  บทข้าแต่พระบิดา

              จุดเริ่มต้นของบท “ข้าแต่พระบิดา” ปรากฏในพระวรสาร น.มัทธิว และ น.ลูกา ซึ่งของท่าน น.มัทธิว มีความสมบูรณ์มากกว่าพระศาสนจักรจึงเลือกใช้ของท่าน

ความสำคัญของบทข้าแต่พระบิดา

  1. เป็นการสรุปพระวรสารทั้งครบ  (แตร์ตูเลี่ยน)
  2. เป็นบทภาวนาที่สมบูรณ์ที่สุด  (น. โทมัส  อไควนัส)
  3. กำหนดให้อยู่ในพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และการภาวนาทำวัตร

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์

               เราสามารถเรียกพระเป็นเจ้าว่า “พระบิดา” เพราะพระบุตรของพระเป็นเจ้าผู้เสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ทรงเผยแสดงให้เราทราบ และพระจิตทรงทำให้เรารู้จักการวอนขอต่อพระบิดาทำให้เราเข้าไปอยู่ในธรรมล้ำลึกของพระองค์ด้วยความพิศวงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และปลุกเราให้ปรารถนาที่จะดำเนินชีวิตในฐานะบุตร

            “ของข้าพเจ้าทั้งหลาย” เราเป็นประชากรของพระองค์ในพระคริสตเจ้า เพราะเราร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในพระศานจักร ของพี่น้องมหาศาลที่เป็น “น้ำหนึ่งใจเดียวกัน” (กจ 4 :32) เป็นการภาวนาพร้อมกับมนุษย์ทุกคน และสำหรับชนชาติทั้งครบ เพื่อทุกคนจะมารู้จักพระเจ้าเที่ยงแท้แต่เพียงพระองค์เดียว และรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

             “พระองค์สถิตในสวรรค์” แสดงถึงความรุ่งเรืองความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าและการประทับอยู่ของพระองค์ในหัวใจของผู้ชอบธรรมมิได้หมายถึงสถานที่ แต่หมายถึงรูปแบบของการเป็นอยู่ คือพระเป็นเจ้าทรงอยู่เลยโพ้นเหนือทุกสิ่ง

การวอนขอเจ็ดประการ

สามประการแรก จะไปในทางเทววิทยามากกว่า ซึ่งนำเราไปหาพระองค์เพื่อพระสิริมงคลของพระองค์

สี่ประการสุดท้าย วอนขอสำหรับความต้องการของเรา คำวอนขอแบบ–ข้าพเจ้าทั้งหลาย (we petition)

  • พระประสงค์ของพระเจ้านั้นต้องมาก่อนความต้องการของเราแต่ละคน
  • เราควรภาวนาด้วยท่าทีของการยกย่องพระเจ้าอย่างเหมาะสมก่อนจะวอนขอสิ่งใด ๆ

บทสรรเสริญ “พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ”

              เป็นการวอนขอให้พระนามเป็นที่รู้จักและได้รับการสรรเสริญจากมนุษย์ทุกคน วอนขอการมาถึงครั้งสุดท้ายของพระอาณาจักรของพระเจ้า ทำให้พระองค์เป็นที่ล่วงรู้ในทุกสิ่งที่เรากระทำในพระนามของพระองค์ออกไปยังทุกที่ที่เกี่ยวข้องกับโลกของเรา ประกาศให้โลกรู้ว่านามของพระองค์ สำคัญกว่านามใดๆ ในโลกนี้ ทำให้พระองค์เป็นที่รู้จักในบรรดานานาชาติ

              “พระอาณาจักรจงมาถึง” เมื่อพระอาณาจักรของพระเจ้ามาถึง อาณาจักรแห่งความชั่วร้ายจะหมดไป   อาณาจักรของพระเจ้าจะดำเนินต่อไปจนกว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ในวาระสุดท้าย

“พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์”   

                พระประสงค์ของพระบิดา คือ ให้มนุษย์ทุกคนได้รับความรอดพ้น วอนขอพระบิดาให้รวมน้ำใจของเราเข้ากับพระองค์ ให้แผนการแห่งความรักของพระองค์สำเร็จสมบูรณ์บนแผ่นดินนี้ แต่เมื่อใดที่บุคคลหนึ่งยื่นมือไปช่วยอีกคนหนึ่ง  แบ่งปันเสื้อคลุมให้ ช่วยเหลือคนป่วย และต่อต้านความอยุติธรรม นี่แหละคือพระประสงค์ของพระบิดา

              ทุกวันนี้ ผู้ใดที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าก็เป็นสมาชิกของพระอาณาจักรแล้วตั้งแต่เวลานี้และบนโลกใบนี้ โลกนี้ยังอยู่ห่างไกลจากการปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ เราจึงต้องวอนขอให้พระอาณาจักรมาถึงในอนาคตด้วยการที่พระเจ้าทรงครอบครองในจิตใจของเราแต่ละคน

บทอ้อนวอน “โปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้”

                การวอนขออาหารประจำวันจากพระเจ้า หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราต้องการเพื่อประทังชีวิตของเรา  เป็นการวอนขอให้พระเจ้าประทานอาหารซึ่งเรารับประทานตามปกติทุกวัน คำวอนขอนี้ยังหมายถึง ความต้องการอาหารฝ่ายจิตด้วย อันได้แก่ พระวาจาของพระเจ้า และพระกายของพระองค์ในศีลมหาสนิท เราวอนขอ “วันนี้” ด้วยความไว้ใจอย่างเต็มเปี่ยม เราจะต้องร่วมมือกับพระเจ้า พระเจ้าทรงดูแลนก ในอากาศแต่มันก็ต้องออกไปหาอาหารเองด้วย เราต้อง “แบ่งปัน” ซึ่งกันและกัน ภาวนาขอไม่ให้มีผู้หิวโหยในวันนี้ วอนขอเพื่อเราจะสามารถแบ่งปันผู้อื่นได้

“โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น”

                พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เรายอมรับว่า   เราเกิดมาในฐานะบาปในเวลาเดียวกันก็ยอมรับในพระเมตตา ของพระเจ้า “เราได้รับการไถ่กู้และอภัยบาปแล้ว” (คส 1 : 14) คำวอนขอของเราจะได้รับการสดับฟังต่อเมื่อเราให้อภัยแก่ผู้อื่นเสียก่อน ความเมตตากรุณาจะเข้าไปในจิตใจของเราได้ก็ต่อเมื่อเรารู้จักการให้อภัย การให้อภัยเป็นการมีส่วนร่วมในพระเมตตาของพระเป็นเจ้าและเป็นจุดสำคัญของการภาวนาของคริสตชน

“โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การประจญ”

                เป็นการทดลองเพื่อทดสอบบางคนว่าเขาดีมากน้อยเพียงใด และประจญบางคนเพื่อทำให้เขาผิดพลาดล้มเหลว ปีศาจใช้ประจญด้วยความคิดและความปรารถนา แต่พระเจ้าทรงใช้เพื่อทดสอบผู้ที่ทรงเลือกสรร เพื่อช่วยให้เขาเข้มแข็ง แม้เมื่อเราผิดพลาดก็ประทานโอกาสใหม่ให้เสมอในความพ่ายแพ้ พระเจ้าอาจมีพระประสงค์บางอย่าง บางครั้งในเกมส์กีฬา เราเรียนรู้จากความพ่ายแพ้มากกว่าชัยชนะ ให้เรารู้จักพึ่งพระองค์มากขึ้น ตราบใดที่ยังมีการประจญอยู่แสดงว่าเรายังไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของปีศาจ

“โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ”

                “ความชั่วร้าย” คือ ปีศาจผู้ต่อสู้กับพระเจ้าและเป็น “ผู้ล่อลวงผู้อาศัยทั่วแผ่นดิน” (วว 12 : 9) พระคริสตเจ้าทรงมีชัยเหนือปีศาจ เราวอนขอให้มนุษย์ทั้งหลายได้รับอิสระจากปีศาจและกิจการของมันอย่างเด็ดขาด ให้เรารอดพ้นจากภัย ความทุกข์ยากต่างๆ ซึ่งเราเองอาจเป็นสาเหตุโดยไม่รู้ตัว ความชั่วร้ายที่สำคัญ คือ บาป

                “อาแมน”  ในตอนท้ายของการภาวนาท่านกล่าวคำว่า อาแมน ด้วยการเน้นคำว่า อาแมน ซึ่งหมายความว่า  “ขอให้เป็นไปตามนั้นเทอญ” หมายถึงทุกสิ่งที่อยู่ในบทภาวนาที่พระเป็นเจ้าได้ทรงสอนเรา (น. ซิริล แห่งกรุงเยรูซาเล็ม)

 

แบบฝึกหัด บทที่ 1 “บทข้าแต่พระบิดา”

สถิติการเยี่ยมชม

9655346
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1102
2246
23486
9562049
141713
260177
9655346
Your IP: 18.119.107.161
Server Time: 2024-04-24 21:28:15

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com