พ่อเล่าเรื่อง 46: สารวันสื่อมวลชน

การฟังเป็นสิ่งสำคัญของการสื่อสาร (Listening is essential for dialogue)

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวถึง สารวันสื่อมวลชนสากล2022 (ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2022) ว่า การฟังเป็นที่สำคัญประการแรกของการสื่อสารของมนุษยชาติ เป็นเงื่อนไขที่แท้จริงของการสนทนา และเป็นมิติแห่งความรัก ในยุคปัจจุบัน ผู้คนได้สูญเสียทักษะของการฟังผู้อื่นไปอย่างรวดเร็ว เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะฟังอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ

การฟังด้วยหัวใจ (Listening with the heart)

หัวข้อของวันสื่อมวลชนสากลปีนี้คือ การฟังด้วยหัวใจ (Listening with the ear of the heart) เชิญชวนให้เราไตร่ตรองถึงการฟังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในกระบวนการของการได้ยิน การฟังเป็นพื้นฐานของมิตรภาพที่แท้จริง และเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษยชาติ

ดังที่นักบุญเปาโลได้กล่าวไว้ว่า “ความเชื่อเกิดมาจากการฟัง” (รม 10:17) การฟังยังสอดคล้องกับความสุภาพของพระเจ้าผู้ทรงเปิดเผยพระองค์เองด้วยการตรัส และโดยการฟังมนุษย์ทุกคนที่ได้สนทนาหรือภาวนาถึงพระองค์ มนุษย์ถูกเรียกให้ “ปรับตัวและเต็มใจฟัง” เมื่อพระเจ้าทรงเรียกพวกเขาให้มาสู่พันธสัญญาแห่งความรัก โดยพื้นฐานแล้ว การฟังเป็นมิติแห่งความรัก

เงื่อนไขของการสื่อสารที่ดี (A condition of good communication)

ในความสัมพันธ์อันหลากหลาย การสื่อสารที่แท้จริงกำลังขาดหายไป ดังเช่นการเสวนาจบลงด้วยกันแข่งกันพูด หรือพูดอยู่ฝ่ายเดียว ราวกับว่าทั้งสองฝ่ายปฏิเสธที่จะฟังกันและกัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้แม้กระทั่งในเวทีสาธารณะ ที่หลายครั้งจบลงด้วย ต่างฝ่ายต่างโพสข้อความลงในโลกโซเชียลของตนเอง

หากปราศจากการฟัง ก็จะไม่ทำให้เกิดผู้สื่อสารหรือนักข่าว (Journalist) ที่ดี ผู้สื่อสารที่ดีต้องการฟังหลายเสียงหลาย ๆ เสียง เพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่าข่าวสารที่กำลังจะส่งออกไปนั้นมีความน่าเชื่อถือและจริงจัง

การฟังยังทำให้เราฝึกปฏิบัติศิลปะแห่งการแยกแยะ ทำให้เราสามารถฟังเสียงของบุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราดังเช่นวงดนตรีซิมโฟนี่ที่มีเครื่องดนตรีอันหลากหลาย

การฟังในพระศาสนจักร (Listening in the Church)

ในพระศาสนจักรก็มีความจำเป็นอย่างมากเช่นเดียวกันในการรับฟังกันและกัน การเสียสละตั้งใจฟังเสียงของผู้อื่นถือเป็นงานประการแรกด้านเมตตากิจ ในกระบวนการสมัชชาขอร้องให้เราภาวนาเพื่อที่จะทำให้เกิดการฟังซึ่งกันและกัน หากเปรียบเทียบความเป็นหนึ่งเดียวกันในพระศาสนจักรเป็นคณะขับร้องประสานเสียง ความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ใช่เป็นเพียงแค่รูปแบบที่เหมือนกันทั้งหมด (Uniformity) ความซ้ำซากจำเจ (Monotony) แต่มีความแตกต่างหลากหลายของเสียงต่าง ๆ ของทั้งนักขับร้องและเครื่องดนตรีที่สอดประสาน อันเกิดจากการฟังกันและกันอย่างผสมกลมกลืน

เราแต่ละคนควรทำหน้าที่ของเรา ด้วยความสอดคล้องกลมเกลียวกันกับคนอื่น เพื่อจะได้เป็นพระศาสนจักรแบบฟิมโฟนี่ ที่แต่ละคนสามารถร้องเพลงในเสียงของตนเอง และรับฟังเสียงของคนอื่น ๆ และทั้งหมดฟังเสียงของพระจิตเจ้าผู้ทรงเป็นผู้ควบคุมวงทั้งหมด ...

สถิติการเยี่ยมชม

9739669
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
732
2391
3123
9722333
56060
169976
9739669
Your IP: 18.222.21.160
Server Time: 2024-05-20 06:47:36

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com