พ่อเล่าเรื่อง 30: ทูตประจำวาติกัน

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในยุคของเราเป็นเรื่องระดับโลก (Great challenges of our time are all global)

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะประจำปีกับคณะทูตที่มีความสัมพันธ์กับนครรัฐวาติกันจำนวน 183 ประเทศ จากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม จำนวน 87 แห่ง รวมถึงสหภาพยุโรป มอลตา สำนักงานของสันนิบาตอาหรับ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน และข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันอังคารที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2022

ทรงกล่าวถึงสถานการณ์ของโลกยุคปัจจุบัน ความห่วงใยเกี่ยวกับผู้คนและการเมือง ทรงเน้นย้ำว่าเราเป็นครอบครัวมนุษยชาติเดียวกัน อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน เราต้องการความสามัคคีอย่างจริงจังของความเป็นจริงทั้งหมด เป้าหมายที่พวกเราควรจะเอาชนะก็คือ การช่วยแก้ไขความขัดแย้งและส่งเสริมความสามัคคี

รับมือโรคระบาดอย่างตรงจุด (Tackle the pandemic “head-on”)

ความมุ่งมั่นทางการเมืองควรมุ่งไปสู่ผลประโยชน์ของประชาชนทั่วไป ผ่านทางมาตรการป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพวกเขา ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและได้รับวัคซีนที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน ประสานความร่วมมือในทุกระดับ (ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับโลก) อาศัยการแบ่งปันและความช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้ทุกคนเขาถึงเครื่องมือวินิจฉัย วัคซีน และยาได้

การเสด็จเยี่ยมอย่างเป็นทางการและความทุกข์ทรมานในเลบานอน (Apostolic visits and the suffering of Lebanon)

ประชาชนใน #ประเทศเลบานอน เรียกร้องการปฏิรูปที่จำเป็นและการสนับสนุนจากนานาชาติ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศชาติยืนหยัดในอัตลักษณ์อันถูกต้องของตน เป็นแบบอย่างของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และภราดรภาพระหว่างศาสนาต่างๆ และยังมีอีกหลายประเทศที่มีความขัดแย้ง การแบ่งแยกทางด้านการเมือง ผลกระทบจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง และความยากจน

การอพยพ (Migration)

เราไม่ควรเพิกเฉยหรือซ่อนตัวอยู่หลังกำแพงและลวดหนามต่อปัญหาการอพยพของผู้คน แม้ว่าบางรัฐจะต้องเผชิญปัญหาในการต้อนรับผู้อพยพลี้ภัยจากต่างที่ต่างๆ รัฐบาลและสหภาพยุโรปควรยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในการต้อนรับผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัย การต้อนรับ การพิจารณาคำขอร้องจากผู้ลี้ภัย การประสานงานไปยังผู้ที่สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ ทั้งปัญหาผู้อพยพลี้ภัย โรคระบาด และอากาศที่เปลี่ยนแปลง แสดงให้เราเห็นว่าเราไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้โดยลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างกัน เพราะว่ามันเป็นปัญหาระดับโลก

คุณค่าของลัทธิพหุภาคีหรือความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน (The value of multilateralism)

เราควรมีสำนึกของอัตลักษณ์ร่วมกันในฐานะครอบครัวมนุษยชาติหนึ่งเดียว เราไม่ควรมองว่าปัญหาต่างๆ เป็นเรื่องของชนชาติหรือรัฐบาลนั้นๆ ที่จะต้องแก้ปัญหาโดยลำพัง การลงมติ การประกาศ และการตัดสินใจที่สำคัญควรอยู่บนพื้นฐานของการเจรจาร่วมกันอย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่ความสมดุล และความพึงพอใจร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ทำให้ระบบพหุภาคีเข้มแข็งในการเผชิญกับความท้าทายระดับโลก เป็นพิเศษสิทธิในการมีชีวิต ตั้งแต่การปฏิสนธิไปจนถึงการเสียชีวิตตามธรรมชาติ และสิทธิในเสรีภาพการนับถือศาสนา

ประเด็นสำคัญระดับโลก (World hotspots)

ประชาคมระหว่างประเทศควรจัดการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ไม่มีวันจบ และกลายเป็นสงคราม การปฏิรูปทางการเมืองและรัฐธรรมนูญของ #ประเทศซีเรีย เป็นสิ่งสำคัญ การคว่ำบาตรไม่ควรเกิดขึ้นโดยตรงในชีวิตประจำวัน เพราะจะทำให้ประชาชนทั่วไปยากจนมากขึ้น, ความขัดแย้งใน #ประเทศเยเมน เป็นโศกนาฏกรรมของมนุษย์ที่ดำเนินมานานหลายปีอย่างเงียบๆ โดยไม่มีข่าวจากสื่อมวลชนให้เห็น และไม่แยแสต่อประชาคมระหว่างประเทศ แม้ว่าจะมีการเรียกร้องจากผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงและเด็ก

กระบวนการสันติภาพระหว่าง อิสราเอลและปาเลสไตน์ ยังไม่มีความก้าวหน้าใดๆ เกิดขึ้น โดยหวังว่าชนชาติทั้งสองจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมั่นคงและสันติ ปราศจากความเกลียดชังและความขุ่นเคืองใจ แต่เยียวยาซึ่งกันและกัน และการให้อภัย, อีกทั้งความตึงเครียดในหลายประเทศ เช่น ลิเบีย ภูมิภาคซาเฮล ความขัดแย้งภายในใน ซูดาน ซูดานใต้ และ เอธิโอเปีย

ความไม่เท่าเทียมและความอยุติธรรม การทุจริต และความยากจนในรูปแบบต่างๆ ที่ขัดต่อศักดิ์ศรีของบุคคล ยังจุดชนวนความขัดแย้งทางสังคมใน ทวีปอเมริกา การแบ่งฝ่ายที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ช่วยแก้ไขความจริง และปัญหาเร่งด่วนของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ยากจนและเปราะบางที่สุด, และสำหรับยุโรป ควรมีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนสำหรับ ยูเครน คอเคซัสตอนใต้ และคาบสมุทรบอลข่าน

การเจรจาและความเป็นพี้องเป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนมากขึ้นในการจัดการกับวิกฤตอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ เมียนมาร์ มาเกือบปีแล้ว ท้องถนนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่พบปะกัน กลายเป็นฉากต่อสู้ที่ไม่เว้นแม้กระทั่งวัด

ปลดอาวุธ (Disarmament)

ความขัดแย้งเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้นด้วยอาวุธที่มีอยู่มากมายและความไร้ยางอายของบรรดาผู้ที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จัดหาอาวุธเหล่านั้น โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์เป็นไปได้และจำเป็น ในศตวรรษที่ 21 อาวุธนิวเคลียร์เป็นวิธีที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมในการตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความปลอดภัย และการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์นั้นผิดศีลธรรมและคุกคามการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ

การศึกษาและการใช้แรงงาน (Education and labour)

จากสารวันสันติภาพสากลเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2022 ที่เน้นย้ำเรื่อง #วัฒนธรรมแห่งการเสวนาและความเป็นพี่น้อง เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการสร้างและรักษาความสงบสุข จากการแพร่ระบาดอย่างหนักทำให้คนงานจำนวนมากประสบกับการสูญเสียงาน การถูกเอารัดเอาเปรียบ และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ, การให้การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะพัฒนาความเป็นมนุษย์แบบองค์รวม เสริมสร้างเสรีภาพและความรับผิดชอบส่วนบุคคล น่าเสียดายที่งบประมาณของรัฐมักจะจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาเพียงเล็กน้อย ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นค่าใช้จ่าย แทนที่จะเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต

ดังนั้น จำเป็นต้องมีความร่วมมือที่มากขึ้นในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยไม่อีกกี่ปีข้างหน้าจะเป็นช่วงเวลาแห่งโอกาส เพื่อกระชับความสัมพันธ์ฉันพี่น้องของครอบครัวมนุษย์หนึ่งเดียวของเรา โดยตระหนักว่า ไม่มีใครรอดได้เพียงลำพัง

สถิติการเยี่ยมชม

9739508
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
571
2391
2962
9722333
55899
169976
9739508
Your IP: 13.59.154.190
Server Time: 2024-05-20 05:36:19

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com