Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีพ่อเล่าเรื่องพ่อเล่าเรื่อง 8: พระสันตะปาปาเสด็จเยือนกรีซ 1

พ่อเล่าเรื่อง 8: พระสันตะปาปาเสด็จเยือนกรีซ 1

การฟื้นฟูมนุษยชาติต่อการเคารพต่อชีวิตเป็นการแสดงออกถึงความห่วงใยที่มีต่อทุกคน รวมถึงคนยากจนและสิ่งสร้างทั้งหลาย

เช้าวันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม A.D.2021 พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงเริ่มพระภารกิจของพระองค์ในการเสด็จเยือนประเทศกรีซอย่างเป็นทางการ ณ กรุงเอเธนส์ ทรงพบปะกับบรรดาผู้นำประเทศ คณะทูต และ ผู้นำชาวยุโรป ด้วยการตรัสถึงการให้ความเคารพต่อชีวิตซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน

มิติความเป็นมนุษย์และมิติที่เหนือธรรมชาติ (The transcendent and human dimensions)

ประเทศกรีซและกรุงเอเธนส์เป็นแหล่ง และจุดศูนย์กลางของอารยธรรมของโลกมาอย่างยาวนาน เป็นรากฐานของความเจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาทางด้านปรีชาญาณ ซึ่งได้ถูกพัฒนาไปสู่การเป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดปรีชาญาณของพระเจ้า นั่นก็คือ พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษากรีก

ประชาธิปไตย,การเมือง,และความดีส่วนรวม (Democracy, politics and the common good)

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบประชาธิปไตยมีต้นกำเนิดอยู่ที่กรุงเอเธนส์ ทำให้เกิดสหภาพยุโรปในปัจจุบัน อันเป็นความฝันของสันติภาพและความเป็นพี่น้องที่ซึ่งเป็นตัวแทนของบุคคลทั้งหลาย ประชาธิปไตยที่แท้จริง ต้องการการมีส่วนร่วมและความร่วมมือจากทุกคน แต่ในยุโรปและที่อื่น ๆ ในปัจจุบันมีการถอยห่างจากประชาธิปไตยที่นำโดยเผด็จการและประชานิยม

การเมืองควรเป็นศิลปะที่ใช้เพื่อสร้างความดีส่วนรวม การให้ความสำคัญกับบุคคลที่อ่อนแอกว่า การเมืองควรก้าวไปข้างหน้าเพื่อมุ่งไปสู่ความยุติธรรมทางสังคม จากพรรคพวกไปสู่การมีส่วนร่วมของทุกคน การแก้ปัญหาที่เร่งด่วน เช่น สภาพอากาศที่แปรปรวน การแพร่ระบาดของโควิด-19 การตลาดทั่วไป และ การแพร่ระบาดของความยากจนในรูปแบบต่าง ๆ การเมืองควรจะทำส่วนรวมอย่างแท้จริง หรือไม่ใช่เพื่อประเทศชาติของตนเองจนเกินไป

อากาศที่เปลี่ยนแปลงและการรักษาสิ่งแวดล้อม (Climate change and care for creation)

พระสันตะปาปาได้ยกตัวอย่างของกิ่งมะกอกที่นกพิราบคาบมาหลังจากน้ำท่วมโลกแล้ว ปัจจุบันกิ่งมะกอกนั้นถูกไฟไหม้จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เรียกร้องให้เราปรับเปลี่ยนหนทางการดำเนินชีวิต เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเรากับพระผู้สร้าง (หรือพระเจ้า) พร้อมกับสรรพสัตว์และสิ่งสร้างทั้งหลาย เพื่อที่บรรดาลูกหลานของเราจะได้ไม่ต้องชดใช้หนีที่พ่อแม่ของเขาได้สร้างเอาไว้

ผู้อพยพ (Migrants)

ในพระคัมภีร์ ต้นมะกอกยังเป็นสัญลักษณ์หมายถึงการแบ่งปันให้กับคนอื่น เช่นในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติเตือนว่าเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวต้นมะกอก จะต้องไม่เก็บผลจนหมดต้นจนกระทั่งไม่เหลือไว้ให้คนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาคนยากจน

ประเทศกรีซได้ต้อนรับบรรดาผู้อพยพหลายคนในเกาะต่าง ๆ ของประเทศ และนั่นอาจนำมาซึ่งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และทำให้หลายประเทศในยุโรปลังเลที่จะต้อนรับคนเหล่านั้น โดยคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ประเทศของตนเองมากกว่าการแสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ความเป็นหนึ่งเดียวกันท่ามกลางความทุกข์ยาก (Solidarity amid suffering)

ความทุกข์ยากรวมเราให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อคนอื่นทุกข์เราก็ได้รับผลกระทบจากความทุกข์นั้น เราจึงควรช่วยกันสร้างอนาคตแบบบูรณาการและมีสันติสุข การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ทำให้เราได้ค้นพบจุดอ่อนของตนเอง และความต้องการของคนอื่น ท่ามกลางความยุ่งยาก ได้ทำให้ความเป็นหนึ่งเดียวได้เติบโตขึ้น ซึ่งพระศาสนจักรในท้องถิ่นยินดีที่จะกระทำต่อไป โดยเชื่อมั่นว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะมีประโยชน์เมื่อพายุได้ค่อย ๆ สงบลง

สถิติการเยี่ยมชม

9739639
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
702
2391
3093
9722333
56030
169976
9739639
Your IP: 3.17.174.108
Server Time: 2024-05-20 06:31:49

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com