Homeบทความบทความ :: คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลีก้าวไปกับโป๊ปก้าวไปกับโป๊ป #156 : ความว่างเปล่าทางจิตวิญญาณสามารถทำให้เราเข้มแข็มหากเราฟังเสียงของพระเจ้า

ก้าวไปกับโป๊ป #156 : ความว่างเปล่าทางจิตวิญญาณสามารถทำให้เราเข้มแข็มหากเราฟังเสียงของพระเจ้า

ความว่างเปล่าทางจิตวิญญาณสามารถทำให้เราเข้มแข็มหากเราฟังเสียงของพระเจ้า (Spiritual desolation can strengthen us if we listen to God)

เมื่อวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2022 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสอนคำสอนแก่ผู้แสวงบุญ ณ จัตุรัสนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน เกี่ยวกับความว่างเปล่าและความโศกเศร้า อันเกิดมาจากประสบการณ์เชิงลบ สามารถนำมาซึ่งสิ่งสำคัญ และทำให้เรามีความเข้มแข็งทางด้านจิตวิญญาณ หากเรารู้วิธีที่จะตรวจสอบด้วยการเปิดใจและมีความตื่นตัว ซึ่งจะทำให้เราได้ยินเสียงของพระเจ้าที่ตรัสกับเราในจิตใจ

ความรกร้างว่างเปล่า (Desolation)

หากกล่าวถึงการปฏิบัติฝ่ายจิตตามแนวทางของนักบุญอิกญาซีโอ แห่งโลโยลา ความรกร้างว่างเปล่าเปรียบได้กับ “ความมืดมิดฝ่ายวิญญาณ” เป็นการรบกวนจากภายใน นำเราไปสู่อำนาจฝ่ายต่ำและหมกมุ่นอยู่กับเรื่องทางโลก ความปั่นป่วนและการล่อลวงต่าง ๆ ที่ไม่สงบ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ ปราศจากความหวัง ปราศจากความรัก เมื่อพบว่าตนเองล้วนเกียจคร้าน เฉื่อยชา โศกเศร้า และราวกับพลัดพรากจากพระผู้สร้างและพระเจ้าของเขา”

เราทุกคนล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์แห่งความรกร้างว่างเปล่านี้ไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับว่าเรามีทัศนคติต่อสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างไร เพราะความรกร้างมีสิ่งสำคัญที่จะบอกกับเรา และเราเสี่ยงที่จะสูญเสียมันหากเรารีบที่จะปลดปล่อยตัวเองจากความรู้สึกว่างเปล่าเหล่านั้น

ตราบใดที่เราทุกคนต้องการชีวิตที่ร่าเริง เบิกบาน และสมหวังอยู่เสมอ ซึ่งมันอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกครั้งไป และคงไม่เป็นผลดีต่อเราเช่นกัน เพราะ “การเปลี่ยนแปลงไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น อาจเริ่มต้นจากสถานการณ์ที่เศร้าหมอง ความสำนึกผิด เพราะสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วก็ได้”

สำนึกผิด (Remorse)

คำว่า “สำนึกผิด” ตามความหมายของคำแล้ว หมายถึง “จิตสำนึกที่กัดกิน” ซึ่งไม่อาจะทำให้เรามีสันติสุขได้ ความสำนึกผิดในสิ่งที่ได้ทำผิดพลาดไปในอดีต จึงเป็นหนทางที่นำเราไปสู่การพัฒนาตนเองไปสู่หนทางที่ดีขึ้นได้

ความโศกเศร้า (Sadness)

ความสำคัญของการทบทวนความโศกเศร้าในชีวิตของเราเอง ซึ่งดูเหมือนเป็นอารมณ์หรือทัศนคติในเชิงลบ แต่เป็นสิ่งขาดไปไม่ได้ในชีวิตของเรา ทำให้เราได้ค้นพบพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งการหลบหนีไม่ได้ช่วยทำให้เราได้ค้นพบ

นักบุญโทมัสได้เขียนไว้ในหนังสือของท่าน (Summa Theologica) เกี่ยวกับเรื่องความโศกเศร้าว่าเป็น “ความเจ็บปวดทางจิตวิญญาณ” เช่นเดียวกับระบบประสาทในร่างกายของเรา ที่เบี่ยงเบนความสนใจของเราไปสู่อันตรายที่อาจเกิดขึ้น หรือผลประโยชน์ที่ถูกมองข้ามไป ดังนั้น ความโศกเศร้าจึงเป็น “สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสุขภาพของเรา มันปกป้องเราจากการทำร้ายตัวเองและผู้อื่น” และ “จะร้ายแรงและอันตรายกว่านี้มากถ้าเราไม่รู้สึกถึงสิ่งนี้”

ยิ่งกว่านั้น สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะทำความดี ความโศกเศร้าเป็น “อุปสรรคที่ผู้ล่อลวงพยายามทำให้เราท้อใจ” และในกรณีนั้น บุคคลนั้นต้องกระทำในทางที่ขัดกับสิ่งที่แนะนำ ตั้งใจที่จะสานต่อสิ่งที่ตนมีหรือตั้งใจจะทำ

ดังคำเตือนของพระวรสารที่ว่า หนทางสู่ความดีนั้นแคบและขึ้นเขา ต้องมีการต่อสู้และการเอาชนะตนเอง ขอให้ผู้ที่ต้องการรับใช้พระเจ้าไม่หลงทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อบางคนได้ละทิ้งชีวิตแห่งการอธิษฐานภาวนา และได้ถูกความรู้สึกแห่งความรกร้างว่างเปล่านำทางพวกเขา ไป โดยไม่ได้หยุดพิจารณาสภาพจิตใจนี้ก่อน ปราศจากความช่วยเหลือจากผู้นำทาง

มีกฎเกณฑ์หนึ่งจะช่วยเราให้พิจารณาการเลือกของเรา นั่นก็คือ จงอย่างเลือกทำอะไรในขณะที่เรากำลังตกอยู่ในความรกร้างว่างเปล่า แต่เลือกกระทำในขณะที่เรามีสติและมีความร่าเริงอยู่

การทดลองเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ (Trials are an important moment)

ดังเช่นพระเยซูเจ้าที่ทรงเอาชนะการล่อลวงด้วยพระทัยแน่วแน่ของพระองค์ แม้การโจมตีจะเข้ามาทุกทิศทุกทาง แต่พระองค์ก็แน่วแน่ที่จะทำตามพระประสงค์ของพระบิดา ทำให้ปีศาจได้ล้มเหลวที่จะขัดขวางพระองค์

ในการเติบโตด้านชีวิตฝ่ายจิต ช่วงเวลาแห่งการทำลองจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เพราะเมื่อเราหันมารับใช้พระเจ้าเมื่อไหร่ เราก็ต้องเตรียมตัวที่จะถูกทดลองเมื่อนั้น (บสร 2:1) เช่นเดียวกัน อาจารย์จะยอมรับว่านักเรียนของตนผ่านการทดสอบแล้ว ก็ต่อเมื่ออาจารย์ได้ทดสอบลูกศิษย์ให้เห็นว่า เขามีความรู้ในเพียงพอในสิ่งที่เรียน

หากเรารู้วิธีการที่จะสำรวจความโดดเดี่ยวและความรกร้างว่างเปล่า ด้วยการเปิดกว้างและตระหนักรู้ เราจะสามารถมีความเข้มแข็งทั้งทางด้านมนุษย์และจิตวิญญาณ ไม่มีการทดลองใดที่เกินเอื้อมมือของเรา (หรือไม่มีการทดลองใดที่จะเอาชนะเราได้)

ดังคำของนักบุญเปาโลที่กล่าวไว้ว่า ไม่มีใครถูกทดลองเกิดความสามารถของตน เราะพระเจ้าไม่เคยทอดทิ้งเรา และเมื่อมีพระองค์อยูใกล้ ๆ เราก็จะสามารถเอาชนะการล่อลวงทุกอย่างได้ ...

สถิติการเยี่ยมชม

9486473
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
10146
8801
42806
9389114
233017
198184
9486473
Your IP: 3.235.130.73
Server Time: 2024-03-28 23:35:10

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com