Homeบทความบทความทั่วไปวันผู้ป่วยสากล (World Day of the Sick)

วันผู้ป่วยสากล (World Day of the Sick)

วันผู้ป่วยสากล (World Day of the Sick)

สิเมโอน เรียบเรียง

เริ่มจากนักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 

            เมื่อปี ค.ศ. 1991 นักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน ปีถัดมาในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 โอกาสระลึกถึงแม่พระฟาติมา พระองค์ได้กำหนดให้มีวันผู้ป่วยสากลขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 ซึ่งตรงกับวันระลึกถึงแม่พระเมืองลูร์ดตามปฏิทินพิธีกรรมของพระศาสนจักร

อัศจรรย์แห่งการรักษาที่เมืองลูร์ด

            พระนางมารีย์ได้ประจักษ์มาให้นักบุญแบร์นาแด็ต ซูบีรู (St. Bernadette Soubirous) เป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1858 ในการประจักษ์มาครั้งที่ 9 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ปีเดียวกัน พระนางมารีย์ได้แนะนำให้เธอใช้มือขุดดินบริเวณนั้นเพื่อดื่มน้ำที่ไหลออกมาสำหรับการรักษาโรค ในวันต่อมาเริ่มมีน้ำไหลออกมา เมื่อรอจนน้ำขุ่นหมดไปแล้ว เธอได้ดื่มน้ำที่ใสประมาณ 2-3 แก้ว พร้อมกับกินใบหญ้าในบริเวณนั้น 2-3 ใบ จากนั้น เธอได้หายจากโรคหอบหืดในทันที

            ต่อมาอีกไม่กี่วัน (ก่อนวันที่ 1 มีนาคมปีเดียวกัน) ชายคนหนึ่งชื่อ หลุยส์ บูเรียต (Louis Bouriette) ดวงตาข้างขวาของเขาบอดสนิทมาเป็นเวลา 2 ปีอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุในเหมืองหิน เมื่อได้ทราบข่าวว่าแบร์ดาแด๊ดหายป่วยอย่างน่าอัศจรรย์ เขาจึงได้เดินทางไปที่นั่นทันที เขาคุกเข่าลงโดยหันหน้าไปทางถ้ำและอธิฐานภาวนา นำน้ำพุนั้นมาล้างตาอยู่หลายครั้ง ทันใดนั้น ดวงตาของเขาก็หายเป็นปกติ นี่เป็นอัศจรรย์ครั้งที่สองรองจากกรณีของแบร์นาแด๊ด ที่รับรองโดยนายแพทย์ปิแอร์ โรเมน โดซูส (Dr. Pierre Romaine Dozous) ซึ่งท่านไม่เชื่อเรื่องการประจักษ์ในตอนแรก แต่ต่อมาท่านได้รับรองว่านี่เป็นเรื่องเหนือธรรมชาติอย่างแท้จริง

พระนางมารีย์เป็นผู้เสนอวิงวอนเพื่อผู้ป่วย

            จากนั้นเป็นต้นมา สักการะสถานพระนางมารีย์แห่งเมืองลูร์ด ได้กลายเป็นที่แสวงบุญของผู้คนมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาผู้ที่เจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจำนวนมากมายได้รับการรักษาให้หายอย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้น วันผู้ป่วยสากลจึงมีความสัมพันธ์กับการวิงวอนขอพระพรแห่งการเยียวยารักษา อาศัยคำเสนอวิงวอนของพระนางมารีย์ต่อพระเป็นเจ้า วัดคาทอลิกหลายแห่งทั่วโลกจึงถือโอกาสจัดให้มีพิธีโปรดศีลเจิมผู้ป่วย (The Sacrament of the Anointing of the Sick) ในวันผู้ป่วยสากล หรือในวันอื่นที่ใกล้เคียงตามความเหมาะสม

ศีลเจิมผู้ป่วย

            ศีลเจิมผู้ป่วย เป็นการมอบผู้ป่วยไว้กับองค์พระผู้เป็นเจ้า เตือนให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในพระมหาทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้า เป็นการพลีกรรมเพื่อประชากรของพระเจ้า (เทียบ CCC 1499 และ LG 11) ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความหวัง ใกล้ชิดกับพระเจ้า มีวุฒิภาวะในการแยกแยะสิ่งที่เป็นแก่นสารในชีวิต แสวงหาพระเจ้า และกลับไปหาพระองค์ (CCC 1501)

            ตลอดพันธกิจของพระเยซูเจ้า ทำให้เราเห็นถึงการเสด็จมาเยี่ยมผู้ป่วยทุกชนิดของพระองค์ (เทียบ ลก 7:16) นอกจากพระองค์จะมีอำนาจในการรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ แล้ว พระองค์ยังทรงอภัยบาปอีกด้วย (เทียบ มก 2:5-12) และทำให้เราเขาใจว่า พระองค์ก็ทรงประทับอยู่กับผู้เจ็บป่วยเหล่านั้น และเชิญชวนให้เราแต่ละคนไม่ทอดทิ้งพวกเขา “เราเจ็บป่วย ท่านก็มาเยี่ยม” (มธ 25:36) และควรควบคู่ไปกับการอธิษฐานภาวนาเสมอ (CCC 1509)

            นักบุญยากอบเป็นประจักษ์พยานในเรื่องนี้ว่า “ท่านใดเจ็บป่วย จงเชิญบรรดาผู้อาวุโสของกลุ่มคริสตชนมา ให้ท่านเหล่านั้นอธิษฐานภาวนาเพื่อผู้ป่วย เอาน้ำมันเจิมผู้นั้นในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า คำอธิษฐานภาวนาด้วยความเชื่อจะช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต องค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงโปรดให้ผู้ป่วยลุกขึ้นได้ และถ้าเขาได้กระทำบาป เขาก็จะได้รับการอภัย” (ยก 5:14-15)

ใครสามารถรับศีลเจิมผู้ป่วยได้?

            ศีลเจิมผู้ป่วย ไม่ใช่ศีลสำหรับคนที่ใกล้จะเสียชีวิตจริง ๆ เท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้คริสตชนทุกคนเข้ามารับได้อีกด้วย คือ

            1. เมื่ออยู่ในอันตราย ป่วยหนัก อยู่ในวัยชรา (SC ข้อ 73,  CCC ข้อ 1514, Canon Law ม.998 และ 1004)

            2. ก่อนการผ่าตัด ผู้ชราที่มีอาการทรุดลง (CCC 1515)

            3. หลังรับศีลเจิมผู้ป่วยไปแล้ว เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและกลับมาป่วยอีก ก็สามารถขอรับใหม่ได้ (CCC 1515 และ ม.1004 วรรค 2)

            4. รวมถึงคริสตชนทุกคนที่ต้องการได้รับพระหรรษทานตามที่ศีลเจิมผู้ป่วยมอบให้ก็สามารถเข้ามารับได้

พระหรรษทานแห่งการเยียวยารักษา

            พระหรรษทานของศีลเจิมผู้ป่วย (CCC 1520-1523) คือ

            1. ทำให้เกิดสันติสุขและความเข้มแข็ง เอาชนะความยากลำบากอันเกิดจากความเจ็บป่วย

            2. ฟื้นฟูความไว้วางใจและความเชื่อ

            3. มีพลังต่อสู้กับผจญของมารร้ายที่ต้องการให้หมดกำลังใจ หรือท้อแท้ใจในการเผชิญหน้ากับความตาย (เทียบ ฮบ 2:15)

            4. ประทานพละกำลังของพระจิตเจ้าสำหรับการรักษาทางด้านจิตวิญญาณ ส่วนทางด้านร่างกายขอให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า

            5. “ถ้าเขาทำบาป เขาก็จะได้รับการอภัย” (ยก 5:15)

            6. มอบถวายความเจ็บป่วยไว้ในพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า

            7. อุทิศการพลีกรรมอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยให้กับประชากรของพระเจ้า พระศาสนจักรในสหพันธ์นักบุญได้วอนขอเพื่อความดีของผู้ป่วย ผู้ป่วยก็ได้ช่วยทำให้พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับที่พระเยซูเจ้าได้ถวายพระองค์เองแด่พระบิดา (LG 11.2)

            8. เป็นการเตรียมสำหรับการเดินทางครั้งสุดท้าย

            9. เป็นการทำให้ศีลล้างบาปสมบูรณ์ เพราะการเจิมของศีลล้างบาปได้ประทับตราชีวิตใหม่ในตัวเรา การเจิมของศีลกำลังทำให้เราเข้มแข็งเพื่อการต่อสู้ของชีวิตนี้ และการเจิมครั้งสุดท้าย เตรียมความพร้อมในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายก่อนเข้าสู่บ้านของพระบิดา (Council of Trent 1551: DS 1694)

สถิติการเยี่ยมชม

9693935
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2119
3627
19369
9631860
10326
169976
9693935
Your IP: 3.138.175.180
Server Time: 2024-05-04 14:45:20

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com