ทำไมต้องให้อภัย

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

เมื่อใดก็ตามที่คนธรรมดาสามัญอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี้ต้องถูกกระทำให้เสียใจ, 
เจ็บปวดหรือสูญเสีย ปฏิกิริยาแรกที่เกิดขึ้นในจิตใจคือความโกรธแค้นและ
ความต้องการการชดใช้ทางใดทางหนึ่งเท่าที่จะพอใจ คนเราส่วนใหญ่
ดูราวกับไม่ทราบว่าการชดใช้ ไม่ว่ามากมายสักเพียงใดก็ตามนั้น 
ไม่สามารถทดแทนกับความรู้สึกเจ็บปวดที่ถูกกระทำไปแล้วอยู่ดี 
มันเป็นเสมือนแผลที่ถูกทำให้เกิดขึ้นแล้ว และไม่ว่าเราจะสามารถ
สนองคืนแก่ผู้ที่กระทำต่อเรานั้น ด้วยแผลที่ใหญ่กว่าและ
เจ็บกว่าได้มากมายสักเพียงใด เจ้าแผลที่มีนั้นหาได้ลบเลือนไป
จากเราเลย สัมผัสถูกทีไรจำให้ต้องเจ็บกลับขึ้นมาใหม่ได้ทุกครั้งไป 
ดังนั้นการชดใช้จึงไม่ใช่คำตอบ ... ใช่หรือไม่? แล้วอะไรคือคำตอบ...?

มีนักคิด, นักเขียน, นักปราชญ์และนักปรัชญาจำนวนมากที่โลกยอมรับ
ในสติปัญญาได้กล่าวถึงหนทางแห่งการหลุดพ้นความเจ็บปวด
จากการถูกกระทำในรูปของคำคมไว้มากมาย 
และจากการที่ได้รับการบันทึกไว้และถ่ายทอดกันมาจนปัจจุบัน
น่าจะถือได้ว่าเป็นที่ยอมรับหรือจะเรียกว่า “โดนใจ” 
ผู้คนในทุกยุคทุกสมัยก็คงไม่ผิดนัก ลองมาพิจารณาดูกัน เช่น

  • เมื่อคุณยังคงเก็บความเจ็บแค้นที่มีต่อใครคนหนึ่งไว้ 
    มันเท่ากับว่าคุณยึดตัวเองไว้กับคน ๆ นั้นด้วยพันธนาการทาง
    จิตใจที่แข็งแกร่งกว่าเหล็กกล้า 
    การให้อภัยเป็นหนทางเดียวที่จะทำลายพันธนาการนั้น
    และปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพ - Catherine Ponder

  • การให้อภัยคือรูปแบบที่สูงส่งที่สุดและงดงามที่สุด
    ของการให้ความรัก แล้วคุณจะได้รับสันติและ
    ความสุขที่แฝงอยู่เป็นการตอบแทน - Robert Muller

  • จงให้อภัยแก่ศัตรูของคุณเสมอ - 
    ไม่มีอะไรจะสร้างความรำคาญใจให้เขาได้
    มากกว่านั้นอีกแล้ว - Oscar Wilde

  • จงอภัยเพื่อปลดปล่อยนักโทษคนหนึ่งสู่อิสรภาพเถิด 
    แล้วคุณจะพบว่านักโทษที่ได้รับอิสระ
    แล้วคนนั้นคือคุณเอง - Lewis B. Smede

  • คนอ่อนแอไม่สามารถให้อภัยใครได้หรอก
    การให้อภัยนั้นเป็นคุณสมบัติพิเศษของ
    ผู้ที่เข้มแข็งเท่านั้น - Mahatma Gandhi

  • คุณไม่สามารถกลับไปแก้ไขความผิดพลาด
    ที่คุณได้ทำไปแล้ว แต่คุณสามารถเผชิญหน้ากับมัน 
    คุณสามารถพูดความจริง คุณสามารถวอนขอการอภัย 
    แล้วจากนั้นก็แค่ปล่อยให้พระเจ้าทรงจัดการส่วนที่เหลือ – นิรนาม

  • การให้อภัยอย่างจริงใจนั้นไม่เคลือบแฝงด้วยความคาดหวัง
    ในความเสียใจที่ได้กระทำผิดหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเขา 
    อย่าไปห่วงว่าในที่สุดเขาจะเข้าใจคุณหรือไม่เลย 
    จงรักและให้อิสรภาพแก่เขาเถิด เราแต่ละคนจะต้องได้รับผล
    ของความจริงที่กระทำทางใดทางหนึ่งในวันใดวันหนึ่ง - Sara Paddison

  • คนเรามักพบว่ามันง่ายที่จะให้อภัยเมื่อผู้อื่นทำผิดมากกว่า
    เมื่อเขาทำถูกต้อง - Joanne Kathleen Rowling

  • คนโง่เขลาไม่ให้อภัยและไม่ลืมความผิดใคร 
    ส่วนคนไม่ประสีประสามักให้อภัยและลืมความผิดนั้น 
    แต่คนฉลาดให้อภัยแต่ไม่เคยลืมความผิดนั้นเลย - Thomas S. Szasz

  • ความรักคือการให้อภัยอันไม่สิ้นสุด - Peter Ustinov

  • คนเราส่วนใหญ่สามารถให้อภัยได้ 
    เพียงแต่เราไม่ต้องการให้เขาลืมว่าเราเคยให้อภัยเขาแล้ว - Ivern Ball

  • คุณจะรู้ว่าการให้อภัยได้เกิดขึ้นแล้ว 
    ก็ต่อเมื่อคุณได้นึกถึงหน้าของคนที่ทำให้คุณเจ็บ
    แต่กลับรู้สึกถึงแรงปรารถนาดีที่มีให้เขา - Lewis B. Smedes

  • การกล่าวว่า “ฉันให้อภัยก็ได้แต่จะไม่มีวันลืมความผิดนั้นเลย” 
    ก็ไม่ต่างกับการกล่าวว่า “ฉันไม่มีวันจะให้อภัย 
    เพราะการให้อภัยก็เท่ากับยกเลิกบันทึกนั้น, ฉีกทึ้งและเผาทิ้ง
    ทำให้ฉันไม่สามารถเอามันมาประจานน่ะสิ” - Henry Ward Beecher

  • การให้อภัยทุกครั้งไปนั้นไร้มนุษยธรรมไม่ต่างกันกับ
    การไม่ให้อภัยเลย – Seneca

  • ไม่มีอนาคตหากปราศจากการให้อภัย - Desmond Tutu

  • การให้อภัยคือการแก้แค้นอันแสนหวาน - Isaac Friedmann

  • เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร – พุทธสุภาษิต

คำคมทำนองเดียวกันนี้ยังมีอีกมากมาย อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่า
ทั้งหมดนั้นเพียงเพื่อบอกว่า “การให้อภัย” คือหนทางเดียว
ที่สามารถลบเลือนร่องลอยจากเหตุแห่งการถูกกระทำและ
หลุดพ้นจากผลแห่งความเจ็บปวดอย่างแท้จริง ... เพียงแค่นี้เองหรือ? 
มันง่ายแค่นี้เองแล้วทำไมคนเรายังคงต้องทุกข์ทน
กับรอยแผลเหล่านั้นอยู่อีกเล่า? ทำไมยังคงมีการล้างแค้น
ที่เป็นปัญหาต่อเนื่องกันไม่จบสิ้น? หากพิจารณาดูจะพบว่า
เพียงแค่การ ”รู้เหตุแห่งปัญหา” นั้น ไม่ใช้ “คำตอบ” เพราะการพูดมันง่าย 
แต่การทำนั้นยาก เรื่องการจะให้อภัยใครที่คิดร้ายทำร้ายต่อเรานั้น
หากเจอเข้ากับตัวเองจริง ๆ ไม่เพียงแค่ว่าทำได้ยาก
แต่อาจทำไม่ได้เลยเสียด้วยซ้ำไป มีประโยชน์อะไรเมื่อรู้ว่า
หนทางแก้ไขเป็นอย่างไรแต่ทำไม่ได้ ... ? การให้อภัยทำได้อย่างไร ...?

คงไม่มีใครไม่ทราบว่าพระเยซูเจ้าทรงถูกตัดสินประหารชีวิต
โดยไม่มีความผิด ถูกทรมานและทำร้ายร่างกาย
อย่างทารุณไร้มนุษยธรรม ถูกทำลายศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์โดย
การสบประมาทอย่างเลวทรามต่ำช้า และที่สำคัญ 
การถูกกระทำทั้งหมดดังกล่าวเกิดขึ้นต่อหน้าแม่ที่แสนรัก 
นั่นหมายถึงการกระทำย่ำยีหัวใจของผู้ที่พระองค์ทรงรัก
ให้ทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสจนตายทั้งเป็นอีกด้วย 
ลองจินตนาการว่าคุณต้องตกอยู่ในสถานะเดียวกันนี้กับพระองค์ดู 
ลองประเมินว่าคุณจะสามารถพูดประโยคเดียวกัน
กับพระองค์ได้ไหม? ...ประโยคที่ว่า

“พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด 
เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร” (ลูกา 23:34)

พระเยซูเจ้าทรงตรัสถึงการให้อภัยหลายครั้งซึ่งถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ 
แต่ที่สำคัญคือพระองค์ขณะที่เป็นมนุษย์ทรงปฏิบัติได้จริงและ
เป็นแบบอย่างอันยิ่งใหญ่ แปลว่า ”การให้อภัย” เยี่ยงเดียวกับพระองค์นั้น
สามารถเกิดขึ้นได้กับเรามนุษย์ธรรมดา ๆ นี้เช่นกัน ... 
แล้วพระเยซูเจ้าในฐานะมนุษย์ในเวลานั้นที่กำลังจะตายบนไม้กางเขน ... 
ทรงให้อภัยได้อย่างไรกัน?

คำตอบไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะให้อภัยได้อย่างไร หากสังเกตสิ่งที่
พระเยซูเจ้าตรัสอีกครั้ง “พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด 
เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร” จะพบว่าพระองค์ไม่ได้ทรงเป็นผู้กระทำการ 
“ให้อภัย” แต่พระองค์ทรงวอนขอพระบิดาเจ้าทรงอภัยความผิดมหันต์
ของมนุษย์นั้นต่างหาก พระองค์ไม่ทรงถือว่าพระองค์ถูกกระทำอะไรเลย 
คำตอบคือ “การยอมรับและความอ่อนน้อม”

  • การยอมรับสถานะแท้จริงในความเป็นมนุษย์ มนุษย์หรือ
    สิ่งมีชีวิตที่ไร้ซึ่งทุกสิ่งและไม่สามารถดำรงคงอยู่ได้โดยปราศจากพระเจ้า 
    เมื่อความจริงคือเราไม่มีอะไรเสียแล้วใครจะเอาอะไรจากเราได้เล่า? 
    เมื่อใดที่เรารู้สึกโกรธเพราะถูกกระทำ นั่นเป็นเพราะเราถือว่า
    เราเป็นของเรา เราเป็นเจ้าของนั่น เราเป็นเจ้าของนี่ 
    เราหลงไปกับความเชื่อของเราเองว่าเรามีอะไรบางอย่างให้สูญเสียได้
    ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วเราไม่มีอะไรเลย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของพระเจ้า

  • ความอ่อนน้อมต่อพระเจ้าที่ทำให้เรามุ่งเข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ 
    มันเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้พระองค์ทรงกระทำความดีงามต่าง ๆ ผ่านทางเราได้
    พระเยซูเจ้าตรัสว่า

“ สิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์ ก็เป็นไปได้สำหรับพระเจ้า” (ลูกา 18:27)

หมายความว่ามนุษย์ธรรมดาอย่างเราสามารถก่อให้เกิดได้ทุกสิ่ง
แม้แต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพียงยอมให้พระเจ้าทรงใช้เราเป็นเครื่องมือของพระองค์

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำเพื่อให้ความดีงามซึ่งรวมทั้งการให้อภัยเกิดขึ้นแก่โลก
และตัวเองคือการยอมรับความจริงว่าต้องการพระเจ้าและ
น้อมรับพระองค์ให้เข้ามาครอบครองชีวิตทั้งครบเท่านั้น 
พระเยซูเจ้าทรงแสดงตัวอย่างอันสมบูรณ์ของ “การให้อภัย” 
มันเป็นความดีงามที่พระเจ้าทรงกระทำแก่มนุษย์ผ่านทางบุคคลอย่างเรา 
เป็นความรักที่พระเจ้าทรงมอบแก่เราทุกคนเพื่อการดำรงอยู่และ
ดำเนินไปสู่สันติสุขในพระองค์ร่วมกันในที่สุด

 

โดย คุณรอหรรษ์

สถิติการเยี่ยมชม

9655304
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1060
2246
23444
9562049
141671
260177
9655304
Your IP: 3.138.200.66
Server Time: 2024-04-24 21:03:24

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com