เต็มแล้วหรือยัง?

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

เมื่อเปิดเทอมครูมีโครงงานให้นักเรียนทำ วันหนึ่งครูให้นักเรียน
เตรียมโหลแก้ว ก้อนกรวด และทรายมาโรงเรียน เมื่อถึงชั่วโมง
ครูให้นักเรียนเอาอุปกรณ์ออกมา และให้ เอาแก้วน้ำที่ใช้ดื่มไป
เติมน้ำมา จากนั้นครูสั่งให้นักเรียนเติมเหยือกให้เต็มโดยใส่หิน
ลงไปก่อน จากนั้นครูถามนักเรียนว่า

"นักเรียนคิดว่าเหยือกเต็มหรือยัง?"

นักเรียนทั้งชั้นตอบว่า

"เต็ม แล้วครับ / ค่ะ"

จากนั้น คุณครูบอกให้นักเรียนเอาทรายที่เตรียมมาค่อยๆ เทลง
ใส่ในเหยือกที่เต็มไปด้วยก้อนหิน ทรายก็ค่อยๆ แทรกตัวลงไป
ระหว่างช่องว่างของก้อนหิน ไม่นานนักก็มองไม่เห็นช่องว่างใน
เหยือกอีก นักเรียนก็บอกครูว่า

"เต็มแล้วครับ / ค่ะ"

ครูถามว่า

"แน่ใจหรือเปล่า?"

นักเรียนทั้งชั้นก็ตอบว่า

"ครับ / ค่ะ"

ครูจึงบอกว่า

"ถ้าอย่างนั้นเอาน้ำที่เตรียมมา
ค่อยๆ เทลงไปในเหยือกดูนะคะ"

นักเรียนก็ค่อยๆ เทน้ำลงไปในเหยือก น้ำก็ค่อย ๆ ซึมไประหว่าง
ทราย นักเรียนก็สามารถเติมน้ำลงไปได้หลายแก้วจนกว่าเหยือก
นั้นจะเต็มจริง ๆ ครูถามนักเรียนต่อไปว่า

"เหยือกเต็มหรือยัง?"

นักเรียนก็ตอบว่า

"เต็มแล้วครับ / ค่ะ"

ครูถามต่อไปว่า

"จริง ๆ หรือ?"

แล้วครูก็ไปหยิบก้อนหินบางก้อนออกจากโหลของนักเรียน
แล้วถามว่า

"ทีนี้ล่ะ ยังเต็มอยู่หรือเปล่า?"

นักเรียนบอกว่า

"ไม่ครับ / ค่ะ"

ครูบอกว่า

"ถ้าเรา เอาก้อนหินออกบางก้อน เรามีที่พอสำหรับใส่
อย่างอื่นลงไปให้โหลเต็มอีกใช่ไหม?"

นักเรียนก็ตอบว่า

"ใช่ครับ / ค่ะ"

ครูจึงถามต่อ ไปว่า

"นักเรียนได้ข้อสรุปอะไรจากการทดลองนี้บ้าง?"

นักเรียนก็ตอบว่า

"โหลที่ดูเหมือนเต็มแล้ว จริง ๆ อาจไม่เต็ม และโหลที่
เต็มแล้ว เราสามารถเอาบางอย่างออก และเอาบางอย่าง
ใส่แทน เพื่อให้เต็มเหมือนเดิมได้"

ครูยิ้ม และบอกว่า

"เก่งมาก นอกจากการเรียนเรื่องปริมาตร และการชั่ง
ตวง วัด ครูก็อยากบอกนักเรียนว่า ขวดโหลก็เหมือนเวลา
ที่พวกเรามี 24 ชั่วโมง ก้อนหินก็เหมือนภาระต่าง ๆ
ที่เราแบกรับ ทรายเหมือนหน้าที่ที่เราต้องทำ และน้ำก็คือ
สิ่งอื่น ๆ ที่เราต้องจัดการ บางทีเรารู้สึกว่า ภาระเรามากมาย
เหลือเกิน แต่ถ้าจัดการดี ๆ เราก็ยังมีเวลาทำหน้าที่
และสิ่งต่างๆ ได้อีก ถ้าภาระบางอย่างมากเกินไป เราก็จัดการ
ใหม่เพื่อให้มีเวลาให้กับสิ่งอื่น ๆ ในชีวิต"

ในชีวิตเราก็เช่นกัน ไม่ควรอ้างว่าไม่มีเวลาทำการบ้าน
ไม่มีเวลาไปวัด ไม่มีเวลาสวดภาวนา ทุกคนมีเวลาเท่า ๆ กัน
ขึ้นกับว่า เราจะเห็นว่าอะไรคือ ก้อนหิน อะไรคือ ทราย
และอะไรคือ น้ำในชีวิตของเราและจัดการอย่างไรให้

"เหยือกเต็ม แบบ พอดี พอดี..."

 

โดย คุณเทียนชัย กีระนันทน์

สถิติการเยี่ยมชม

9601044
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4513
7414
38995
9542498
87411
260177
9601044
Your IP: 13.58.197.26
Server Time: 2024-04-19 12:18:49

พระศาสนจักร


แบบฟอร์ม

instagram

สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com