Homeบทความบทความ :: คุณพ่อเอนก นามวงษ์จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ (ตอนที่ 10) ตอนจบ

จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ (ตอนที่ 10) ตอนจบ

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ (ตอนที่ 10) ตอนจบ
PORTA FIDEI (The Door of Faith) to PORTA SANCTA (The Holy Door)

              

              ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว ได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างความเมตตาและความกรุณา และสำหรับพระเป็นเจ้า มีทั้งความเมตตาและความกรุณาต่อเราเสมอ พระองค์ให้อภัยเราจากบาปต่าง ๆ  และยังคอยช่วยเหลือเราทั้งกายและใจด้วย ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมที่ผ่าน พระสันตะปาปาฟรันซิส ได้เลือกด้วยเหตุนี้เอง คติพจน์ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม จึงเน้นว่า “จง​เป็น​ผู้​เมตตากรุณา​ดังที่​พระ​บิดา​ของ​ท่าน​ทรง​พระ​เมตตากรุณา​เถิด” (ลก 6:36) เป็นคติพจน์ประจำปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม  

              พระสันตปาปาฟรันซิส มีความประสงค์ให้พระวาจานี้เป็นจริงเป็นจังผ่านทางการดำเนินชีวิตของบรรดา คริสตชน ซึ่งพระองค์ได้พูดสั้น ๆ ว่า “พระเมตตาของพระเจ้าไม่ได้เป็นเพียงนามธรรม แต่นี่คือความจริงที่เป็นรูปธรรมซึ่งเผยให้เห็นถึงความรักเฉกเช่นผู้เป็นบิดาหรือมารดาที่รักบุตรจนสุดหัวใจ” (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 6)

              การทำให้คติพจน์ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม “จง​เป็น​ผู้​เมตตากรุณา​ดังที่​พระ​บิดา​ของ​ท่าน​ทรง​พระ​เมตตากรุณา​เถิด” ปรากฏเห็นชัดในชีวิตคริสตชน พระสันตะปาปาแนะนำว่า  “ตลอดปีศักดิ์สิทธิ์นี้ ข้าพเจ้าปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ใครขอร้องให้บรรดาคริสตชนคำนึงถึงงานเมตตาทั้งฝ่ายกาย และฝ่ายจิต” (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 15)

              งานเมตตาธรรมฝ่ายกาย  เช่น ให้อาหารแก่ผู้หิวโหย, ให้น้ำแก่ผู้กระหาย, ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม,ให้ที่พักแก่ผู้ที่ไร้ที่อยู่, เยี่ยมผู้ป่วย, เยี่ยมผู้ต้องขัง,  ร่วมงานฝังศพ

              งานเมตตาธรรมฝ่ายจิต เช่น ให้คำแนะนำแก่ผู้สงสัย, สอนคนที่ไม่รู้,  ตักเตือนคนบาป, บรรเทาใจผู้ทุกข์ยาก, ให้อภัยผู้ทำความผิด, อดทนต่อความผิดของผู้อื่น, ภาวนาสำหรับผู้เป็นและผู้ตาย

              เมตตาธรรมเป็นรากฐานของชีวิตพระศาสนจักร พันธกิจทุกอย่างบด้านอภิบาลควรช่วยให้สัตบุรุษสัมผัสความอ่อนหวาน ทั้งการเทศน์สอน และประจักษ์พยานชีวิต มีความยุติธรรม แต่ต้องมีเมตตาธรรมด้วย… เพื่อช่วยผู้อ่อนแอให้มีชีวิตใหม่ สู่อนาคตด้วยความหวัง (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 10)

              หากบรรดาคริสตชนปฏิบัติงานเมตตาธรรมฝ่ายกายและจิต ในชีวิตประจำวัน จะเป็นเหมือนแม่น้ำแห่งความเมตตาไม่มีวันเหือดแห้งในชีวิตพระศาสนจักร และพระสันตปาปาฟรันซิสได้กล่าวว่า การปฎิบัติกิจเมตตาธรรมจะเป็นภาพสะท้อนประกาศกอิสยาห์ (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 16)

              “พระ​จิต​ของ​พระ​ยาห์​เวห์​องค์​พระ​ผู้​เป็น​เจ้า​ทรง​อยู่​เหนือ​ข้าพ​เจ้า เพราะ​พระ​ยาห์​เวห์​ทรง​เจิม​ข้าพ​เจ้า​ไว้​ให้​ประกาศ​ข่าว​ดีแก่​คน​ยากจน ทรง​ส่ง​ข้าพ​เจ้า​ไป​ปลอบโยน​คน​ที่​มี​ใจ​ชอกช้ำ ประกาศอิสรภาพ​แก่​เชลย ประกาศ​การ​ปลดปล่อย​แก่​ผู้​ถูก​จองจำ ประกาศ​ปี​แห่ง​ความ​โปรดปราน​ของพระเจ้า” (อสย 61: 1-2)

              พันธกิจที่พระ เยซูเจ้าได้รับจากพระบิดา คือ การเผยแสดงธรรมล้ำลึกความรักของพระเจ้าอย่างเต็มรูปแบบว่า พระเจ้าทรงเป็นความรัก (1 ยน 4:8, 16) ทรงทำงานเป็นพิเศษเพื่อคนบาป คนจน คนชายขอบ ผู้ป่วยและทนทุกข์ เพื่อสอนเมตตาธรรม ทุกสิ่งในตัวพระเยซูเจ้าพูดถึงแต่พระเมตตา (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 8)

              เพื่อที่จะเลียนแบบความเมตตาของพระเยซูเจ้า พระสันตะปาปาได้เน้นว่า “ผู้ที่ปฏิบัติ เป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณา ต้องปฏิบัติด้วยใจยินดี” (สมณโองการ พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม ข้อ 16)

              บันทึกวิญญาณของนักบุญโฟสตินา ข้อ 1448 ได้บันทึกสิ่งได้รับการเผยแสดงจากพระเยซูเจ้าว่า “จงเขียนและเอ่ยถึงความเมตตาของเรา จงบอกให้ทุกคนรู้ว่าควร แสวงหาการบรรเทาทุกข์จากที่ใด ที่นั่นคือบัลลังก์ความเมตตา”

              ดังนั้น บรรดาคริสตชน ผู้ที่มีความเชื่อ ย่อมดำเนินชีวิตสอดคล้องกับความเชื่อที่พวกเขามี ความเชื่อนั้น ต้องประกาศด้วยชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ ชีวิตที่เป็นพยาน การเป็นพยานที่จัดเชนที่สุดคือ ท่านจงรักองค์พระเป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาและสุดกำลังของท่าน... ท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง  (มก 12:30-31)  หากผู้ใดกล่าวว่า ข้าพเจ้ารักพระเจ้า แต่จงเกลียดจงชังพี่น้องของตน ผู้นั้นเป็นคนโกหก เพราะผู้ที่ไม่รักพี่น้องผู้ที่เขามองเห็นได้ก็จะไม่สามารถรักพระเจ้าผู้ที่เขามองไม่เห็น”  (1 ยน 4:20)  “ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา”  (มธ 25:40)

              การดำเนินชีวิตแบบนี้ของคริสตชน คือ ชีวิตเดินก้าวเข้าสู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ ประตูสวรรค์ นั่นเอง.......

สถิติการเยี่ยมชม

9622802
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
10273
15998
60753
9542498
109169
260177
9622802
Your IP: 18.118.12.222
Server Time: 2024-04-20 11:58:40

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com