Homeเลนส์มุมกว้าง พระศาสนจักรคาทอลิกตอนที่ 11 : ประวัติการแตกแยกเป็นนิกายหลัก 3 นิกาย

ตอนที่ 11 : ประวัติการแตกแยกเป็นนิกายหลัก 3 นิกาย

ตอนที่ 11

ประวัติการแตกแยกเป็นนิกายหลัก 3 นิกาย

             แรกเริ่มเดิมทีพระศาสนจักรของคริสตศาสนามีความเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ต่อมาผู้นำศาสนจักรได้มีความขัดแย้งในการตีความหลักคำสอนบางประการและแนวทางการตีความปฏิบัติ เพราะการใช้ภาษาแตกต่าง และวัฒนธรรมต่างกัน จึงเริ่มมีความคิดเห็นที่ต่างกันไป โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 451 ได้เกิดการแยกตัวออกไปจากพระศาสนจักรดั้งเดิม เรียกตัวเองว่า “ออร์โธด็อกซ์” (Oriental Orthodox Church) เช่นแถบประเทศอาร์เมเนีย ซีเรีย อีรัก อียิปต์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1054 พระศาสนจักรเกิดการแตกแยกครั้งใหญ่อีก กลายเป็นออร์โธด็อกซ์ภาคตะวันออก (Eastern Orthodox Church) เช่นแถบประเทศกรีซโบราณ (ประเทศตุรกีในปัจจุบัน) ประเทศไซปรัส และต่อมาในปี ค.ศ. 1517 พระศาสนจักรคาทอลิก ณ กรุงโรมเผชิญกับวิกฤต ที่สมณชั้นผู้ใหญ่บางรูปใฝ่หาอำนาจ และการประพฤติไม่สอดคล้องกับพระธรรมคำสอนหลัก ประจวบกับอำนาจทางการเมืองของฝ่ายอาณาจักรเข้าแทรกแซงอย่างหนัก จึงทำให้บาทหลวง/นักบวชคณะออกัสติเนียน ชื่อมาร์ติน ลูเธอร์ (Rev. Martin Luther) ได้ปฏิรูปศาสนจักรที่ประเทศเยอรมณี จึงตัดความสัมพันธ์กับสมเด็จพระสันตะปาปา ณ นครรัฐวาติกันในฐานะผู้นำพระศาสนจักรสูงสุด และได้ตั้งนิกายขึ้นมาใหม่ ที่เราเรียกว่าโปรเตสแตนท์ (Protestant ซึ่งมาจากคำ Protest) เมื่อขาดหัวหน้าสูงสุดทางคริสตศาสนา ในกลุ่มโปรเตสแตนท์จึงเกิดผู้นำอีกมากมาย เพราะการตีความหลักข้อเชื่อต่างกัน และพวกเขาได้ตั้งเป็นลัทธิใหม่ๆ หลายสาขาจนนับไม่ถ้วน บรรยากาศอึมครึม ขัดแย้ง และกลายเป็นอริต่อกันเนิ่นนานถึง 500 ปี จนกระทั่งเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว หน่วยงานด้านคริสตสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายได้พยายามศึกษาจุดร่วมทางเทววิทยาเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง และมีการประกาศปฏิญญาร่วมกันเป็นระยะๆ เพื่อสมานบาดแผลแห่งความขัดแย้ง เช่นในปี ค.ศ. 1999 ได้มีการลงนามเอกสารเพื่อความร่วมมือกันในการสร้างเอกภาพ และเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 ได้มีการเฉลิมฉลองร่วมกันภายใต้หัวข้อ “จากความขัดแย้งมุ่งสู่ความเป็นหนึ่งเดียว” (From Conflict to Communion) โดยยึดหลักการที่ว่า “เอกภาพในความหลากหลาย” ดังนั้นบรรยากาศแห่งการเป็นพี่น้องกันจึงพัฒนาดีขึ้นเรื่อยมาตามลำดับ

            ในประเทศไทยชาวไทยที่นับถือศาสนาคริสต์ก็มีอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว (เมื่อรวมกันแล้วประมาณ 1 ล้านคน) และก็จะถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกายหลักอย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้นแล้วสำหรับการนับถือในประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จนถึงปัจจุบัน กรมการศาสนารับรองคริสตศาสนาในประเทศไทยเพียงนิกายโรมันคาทอลิก และนิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์กรกล่าวคือ 1) สภาคริสตจักรในประเทศไทย 2) สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย 3) สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย 4) มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย ซึ่งในอนาคตกระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมการศาสนาอาจจะรับรองโปรเตสแตนท์องค์กรอื่นๆ ที่เป็นสากลและนิกายออร์โธด็อกซ์ก็ย่อมเป็นไปได้

            สิ่งแรกที่คนไทยอาจจะไม่เคยรู้เกี่ยวกับ 2 นิกายนี้ (คาทอลิกกับโปรเตสแตนท์) คือคนไทยชาวคริสต์ที่นับถือนิกายคาทอลิกจะถูกเรียกว่า “คริสตัง” เหตุเพราะนิกายนี้ถูกนำเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราชด้วยซ้ำ และคนที่นำมาเผยแผ่ก็คือชาวโปรตุเกสซึ่งมีภาษาพูดไม่ชัดในแบบอังกฤษแท้ คนไทยที่นับถือศาสนานี้จึงถูกเรียกอย่างที่ได้ยิน ส่วนคนไทยชาวคริสต์ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนท์จะถูกเรียกว่า “คริสเตียน” ตามแบบฉบับของคนที่นำเข้ามาเผยแผ่ก็คือหมอบลัดเล่ย์ที่เป็นชาวสหรัฐฯ ซึ่งพูดภาษาอังกฤษชัดเจน

สถิติการเยี่ยมชม

9485762
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
9435
8801
42095
9389114
232306
198184
9485762
Your IP: 3.236.214.123
Server Time: 2024-03-28 22:03:56

แบบฟอร์ม

instagram

พระศาสนจักร


สื่อ YOUTUBE


Laudato si’

บทเรียนคำสอน





บทภาวนา

พิธีกรรมต่างๆ

เอกสารพระศาสนจักร

บทความคำสอน



KAMSONCHAN

 

   องค์กรคาทอลิก              คณะนักบวช  
 

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
แผนกคริสตศาสนธรรม
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ศูนย์คริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
สังฆมณฑลจันทบุรี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา
คามิลเลียนโซเชียลเซนเตอร์ ระยอง

  สังฆมณฑลนครราชสีมา                       
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลนครราชสีมา
สังฆมณฑลอุบลราชธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุบลราชธานี   
สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลราชบุรี
สังฆมณฑลนครสวรรค์
สังฆมณฑลเชียงใหม่
  สังฆมณฑลสุราษฎ์ธานี
สังฆมณฑลอุดรธานี
ศูนย์คริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลอุดรธานี

สภาการศึกษาคาทอลิกประเทศไทย
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสุขภาพอนามัย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย (อุดมสาร)
  ชมรมอธิการิณีเจ้าคณะนักบวชแห่งประเทศไทย
คณะภคินีเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ต
คณะภคินีศรีชุมพาบาล       
คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย
คณะเซนต์คาเบรียล
คณะซาเลเซียน
คณะซาเลเซียน (ซิสเตอร์)
กางเขนแดงสาร

 



JSN Megazine template designed by JoomlaShine.com