พ่อเล่าเรื่อง 83 สมาคมอิตาเลียนเพื่อต่อสู้กับเนื้องอก

ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมะเร็งและช่วยเหลือครอบครัวของเขา (Be close to those with cancer and support their families)

เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2022 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะกับสมาชิกสมาคมอิตาเลียนเพื่อต่อสู้กับเนื้องอก (the Italian League for the Fight against Tumours) โอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวของพวกเขา ทรงสนับสนุนงบประมาณและให้กำลังใจพวกเขาในการทำงาน ในการเป็นประจักษ์พยานต่อเพื่อนพี่น้อง ในการเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมแห่งการเฉยเมย (culture of indifference)

ประจักษ์พยานแห่งความทุ่มเท (The witness of commitment)

ช่วงเวลาแห่งการแพร่ระบาด ได้ทำให้การทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยมีความยุ่งยาก ล่าช้า และสร้างความเครียดให้กับครอบครัวมากยิ่งขึ้น การทำงานร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ได้แสดงให้เห็นถึงประจักษ์พยานแห่งความรัก ท่ามกลางวัฒนธรรมแห่งการเฉยเมย ที่จะพยายามแยกผู้ที่อ่อนแอที่สุดออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยและผู้สูงอายุ หรือไม่ก็ทำเพียงเพราะว่ามีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น

จงจดจำว่าสิทธิที่จะได้รับการดูและรักษาของทุกคนจะต้องมาเป็นอันดับแรก ดังนั้น ผู้ที่อ่อนแอที่สุด เป็นพิเศษ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย จะต้องไม่ถูกละเลย การมีชีวิตเป็นสิทธิประการหนึ่ง มิใช่ความตายที่จะต้องยอมรับ หรือเป็นเพียงแค่การบริหารจัดการทางด้านการเยียวยารักษา หลักการนี้เป็นสากลมิใช่เพียงเฉพาะผู้ที่เป็นคริสตชนเท่านั้น

ศักดิ์ศรีในความทุกข์ทรมาน (Dignity even in suffering)

นักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลเคยกล่าวไว้ว่า “แม้ในความทุกข์ทรมานและความเจ็บป่วย เรายังมีความเป็นมนุษย์ทั้งครบ โดยไม่ได้ถูกทำให้ลดคุณค่าลงเลย ถ้าเราได้มีส่วนร่วมในความทุกข์ทรมานของพระเยซูเจ้า

“เราทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้าได้ เพราะพระองค์ได้ทรงเปิดเผยความทุกข์ของพระองค์ให้กับพวกเราได้ทราบ ความทุกข์ทรมานที่เกิดจากการไถ่บาปมนุษย์ พระองค์ได้ทรงแบกรับความทุกข์ทรมานของมนุษย์ทั้งหมดเอาไว้แล้ว มนุษย์สามารถมีประสบการณ์เหล่านี้ได้ ผ่านทางความทุกข์ทรมานของเขาเอง อาศัยความเชื่อ ทำให้เขาได้ค้นพบความหมายใหม่ของชีวิตผ่านทางความทุกข์ทรมานที่เขาได้รับ และมีส่วนร่วมในการไถ่บาปของพระองค์”

ขอให้ท่านนักบุญเลโอโปลด์ มานดิช (St. Leopold Mandić) องค์อุปถัมภ์ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้ช่วยเหลือพวกท่านให้ทำงานด้วยความพากเพียร และอวยพรไปยังผู้ป่วยทุกคน