ก้าวไปกับโป๊ป #341 : การย้ายถิ่นจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยมนุษยชาติและความสามัคคี (Migration must be addressed with humanity, solidarity)

 
เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2023 ในสุนทรพจน์ของพระสันตะปาปาฟรังซิส ที่อนุสาวรีย์วีรบุรุษและเหยื่อแห่งท้องทะเล ในเมืองมาร์เซย์ ทรงเน้นย้ำว่าโศกนาฏกรรม และความท้าทายในยุคของการอพยพย้ายถิ่นฐานจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีมนุษยธรรมทั่วทั้งภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน
 
ในการพบปะสาธารณะครั้งที่สองของการเดินทางอภิบาลในต่างประเทศ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะกับสมาชิกของพระศาสนจักร เจ้าหน้าที่บ้านเมืองของท้องถิ่น และองค์กรฆราวาสที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคนเดินเรือ ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย ในการทำศาสนสัมพันธ์ ณ อนุสรณ์สถานแห่งเมืองฝรั่งเศส สถานที่รำลึกถึงกะลาสีเรือ และผู้อพยพที่สูญหายในทะเล
 
ในบรรดาผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุม ซึ่งจัดขึ้นที่อนุสาวรีย์หน้ามหาวิหารน็อทร์-ดาม เดอ ลา การ์ด (Basilica of Notre Dame de la Garde) เป็นสมาชิกขององค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างศาสนา (Marseille Espérance) และคณะผู้แทนของผู้เดินทางทะเลคาทอลิก (Stella Maris), งานเมตตาสงเคราะห์แก๊ป-บรียองซง (Caritas Gap-Briançon) และเครือข่ายสมาคมช่วยเหลือทางทะเลเพื่อการสวดภาวนาสำหรับผู้อพยพที่เสียชีวิตในทะเล (Associations de secours en mer pour un temps de prière pour les migrants morts en mer) ตลอดจนสมาชิกของสังฆมณฑลที่ทำงานอภิบาลสำหรับบรรดาผู้อพยพ
 
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการกับโศกนาฏกรรมของการอพยพ ซึ่งได้เปลี่ยนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนให้เป็น "สุสาน" ด้วยการกระทำที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่คำพูด แต่ที่สำคัญที่สุดคือด้วยมนุษยชาติ
เขาเน้นย้ำว่าผู้อพยพที่เสียชีวิตในทะเลเพื่อแสวงหาอนาคตที่ดีกว่านั้น ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น แต่ยังมีผู้คนที่มีใบหน้าและชื่อที่หลบหนีจากความขัดแย้ง ความยากจน และภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
 
“อย่าให้เราคุ้นเคยกับการพิจารณาซากเรืออัปปางที่เป็นข่าว และความตายในทะเลที่เป็นตัวเลข ไม่สิ มันคือชื่อและนามสกุล มันคือใบหน้าและเรื่องราว มันคือชีวิตที่แตกสลายและความฝันที่พังทลาย”
 
ในวิกฤตการย้ายถิ่นฐานในยุคนี้ ในขณะที่ผู้อพยพพบว่า ตัวเองอยู่บนทางแยกระหว่างความเป็นและความตาย ดังที่ตัวละครเอกของหนังสือ “เฮอร์มานิโต” (น้องชายคนเล็ก) เล่าถึงจุดสิ้นสุดของการเดินทางที่เต็มไปด้วยอันตรายจากกินีไปยังยุโรป ประเทศในยุโรปยืนอยู่บนทางแยกแห่งอารยธรรม
 
“ด้านหนึ่งมีภราดรภาพซึ่งทำให้ชุมชนมนุษย์เจริญรุ่งเรืองด้วยความดี อีกด้านหนึ่งคือความเฉยเมยซึ่งทำให้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนองเลือด”
การช่วยเหลือผู้คนที่ตกอยู่ในอันตรายในทะเลเป็นหน้าที่ของทั้งมนุษยชาติและอารยธรรม “พระเจ้าจะทรงอวยพรเรา หากเรารู้วิธีดูแลผู้ที่อ่อนแอที่สุดทั้งบนบกและในทะเล หากเราสามารถเอาชนะความกลัวและการไม่สนใจสิ่งนั้น ประณามผู้อื่นถึงความตายด้วยถุงมือกำมะหยี่”
 
“เราไม่สามารถยอมจำนนต่อการเห็นมนุษย์ได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นชิปที่เล่นการพนัน (bargaining chips) ถูกคุมขัง และถูกทรมานอย่างโหดร้าย เราไม่สามารถดูละครเรืออับปาง ที่เกิดจากการค้ามนุษย์ที่โหดร้าย และความคลั่งไคล้ของความเฉยเมยได้อีกต่อไป ผู้ที่เสี่ยงต่อการจมน้ำเมื่อถูกคลื่นซัดต้องได้รับการช่วยเหลือ มันเป็นหน้าที่ของมนุษยชาติ มันเป็นหน้าที่ของอารยธรรม!”
 
เพื่อจัดการกับวิกฤตินี้ ตัวแทนของศาสนาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวกัน คือ ยิว คริสต์ และอิสลาม (Abrahamic monotheisms) ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งล้วนสอนเรื่องการต้อนรับ และความรักต่อคนแปลกหน้า ในพระนามของพระเจ้า ได้รับเรียกให้เป็นตัวอย่าง โดยประณาม “หนอนไม้ของลัทธิหัวรุนแรง (woodworm of extremism) และโรคระบาดทางอุดมการณ์ของลัทธินับถือศาสนาตามตัวอักษร (fundamentalism) ที่กัดกร่อนชีวิตที่แท้จริงของชุมชน”
 
ความเป็นจริงที่ซับซ้อนหลากหลายวัฒนธรรม และหลายศาสนาของเมืองมาร์กเซย ซึ่งต้องเผชิญกับความตึงเครียดระหว่างชุมชน และสังคมที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เมืองท่าของฝรั่งเศส “ยืนอยู่ที่ทางแยก: การพบปะกันหรือว่าการเผชิญหน้า (encounter or confrontation)”
 
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงยกย่อง และสนับสนุนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และ “ความมุ่งมั่นอย่างเป็นรูปธรรมในการส่งเสริมการพัฒนามนุษย์และการบูรณาการ” ของผู้อพยพที่ดำเนินการโดยองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระหว่างชุมชน และโดยเฉพาะองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) ดังเช่นองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างศาสนา (Marseille Espérance) นี้
 
“คุณคืออนาคตของมาร์กเซย จงมุ่งมั่นไปข้างหน้าโดยไม่ท้อแท้ เพื่อว่าเมืองนี้จะเป็นโมเสคแห่งความหวังสำหรับฝรั่งเศส ยุโรป และโลก”
 
ดังเช่นจูลส์ ไอแซค นักประวัติศาสตร์ชาวยิวชาวฝรั่งเศสในท้องถิ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ จากการทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชาวยิวและคริสตชนหลังสงครามโลกครั้งที่สองว่าเป็น “ผู้บุกเบิกและเป็นประจักษ์พยานในการเสวนา”
 
ยุโรปอาจจัดการกับความท้าทายในปัจจุบันที่ เกิดจากการย้ายถิ่นฐานจำนวนมากในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยจิตวิญญาณแห่งความสามัคคี โดยทลายกำแพงและสร้างสะพาน ดังที่เดวิด ซัสโซลี ประธานรัฐสภายุโรปผู้ล่วงลับกล่าวอ้าง ผู้เสียชีวิตในปี 2022 ในการประชุมการไตร่ตรองและจิตวิญญาณ: 'ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พรมแดนแห่งสันติภาพ' ซึ่งจัดขึ้นในเมืองบารี ในปี 2020 โดยสภาบิชอปแห่งอิตาลี (CEI)
 
“พี่น้องทั้งหลาย ขอให้เราเผชิญปัญหาเหล่านี้ด้วยกัน อย่าให้ความหวังต้องพังทลายลง เรามาร่วมกันสร้างโมเสกแห่งสันติภาพกันเถอะ!”